ธนาคารและธุรกรรมในเนเธอร์แลนด์

เมื่อคุณต้องมาเกี่ยวข้องกับเงินๆทองๆ ไม่ว่าสำหรับนักท่องเที่ยว และผุ้ที่ย้ายเข้ามาอยู่อาศัยและทำงานในเนเธอร์แลนด์ มีข้อมูลที่คุณควรทราบดังนี้ค่ะ

รายชื่อธนาคาร

ธนาคารที่มีสาขาในเนเธอร์แลนด์ที่เป็นที่เชื่อถือยอมรับทั่วไปทั้งในยุโรป และต่างประเทศมีดังนี้

  • ABN Amro Bank
  • Rabobank
  • DHB Bank
  • SNS Bank
  • ING Bank
  • ASN Bank
  • Triodos Bank
  • Bunq
  • Knab

การเปิดบัญชีธนาคาร

แต่ละธนาคารอาจจะต้องการเอกสารที่ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับนโยบายของธนาคาร

สำหรับนักเรียนเอกสารที่ต้องใช้คือ พาสปอร์ต และจดหมายรับรองจากสถานศึกษาที่คุณมาเรียนอยู่

บุคคลทั่วไปที่มี verblijfsvergunning สามารถเปิดบัญชีได้ด้วยบัตรประชาชนดัชต์ของคุณ และ BSN สำหรับคนที่ยังไม่มีรายได้เป็นของตัวเองนั้น บางครั้งการใช้บัตรเสริมจากพาร์ทเนอร์ของคุณจะประหยัดเงินได้มากกว่าการเปิดบัญชีใหม่ เพราะระบบบัญชีธนาคารในเนเธอรืแลนด์ไม่เหมือนกับเมืองไทย บัญชีที่คุณเปิดใหม่ จะเป็นบัญชีชนิดกระแสรายวัน ที่มีสเตทเมนต์ออกมาโชว์รายการรายรับและรายจ่าย และจะไม่มีดอกเบี้ย แถมยังเสียค่าบริการเป็นรายเดือน หรือปีให้

บัตร PIN pas, Credit card

pinpas พินพาส หรือบัตรเอทีเอ็มที่คุณใช้นั้น จึงมีสภาพเหมือน Visa Electron ของเมืองไทย ที่สามารถใช้รูดการ์ดซื้อสินค้าได้ ตามวงเงินที่คุณมีอยู่จริง บัตรเหล่านี้จะเป็นยี่ห้อ Maestro สัญลักษณ์วงกลมฟ้าแดงดูเผิน นึกว่ามาสเตอร์การ์ด (ในอนาคตอันใกล้จะเปลี่ยนระบบแล้วค่ะ) สำหรับคนที่มีรายได้ผ่านเกณท์ที่กำหนด ก็สามารถจะเปิดขอเครดิตเพิ่มได้อีก ตามจำนวนเงินที่ธนาคารยอมรับ หากจะไปใช้ในต่างประเทศ ก็สามารถจะทำบัตร credit card เพิ่มได้ตามวงเงินดังกล่าว เครดิตการ์ดส่วนมากในฮอลแลนด์จะเป็น Mastercard ค่ะ ไม่ว่าจะเป็นแบบ prepaid หรือ credit

โอนเงินภายในประเ่ทศ และ/หรือ ภายใน EU

การโอนเงินเข้าบัญชีอื่น ทำได้หลายวิธี การโอนเงินภายในยุโรปนั้น บางธนาคารไม่คิดค่าใช้จ่าย บางที่อาจมีค่าใ้ช้จ่ายเล็กน้อย คุณสามารถศึกษาได้ในส่วนของ betaling/overschrijving จากคู่มือของธนาคารที่คุณใช้บริการอยู่โดยตรงเอง การโอนเงินไปยังประเทศที่ไม่ได้ใช้เงินยูโร คุณจะไม่เสียค่าบริการแลกเงินแต่จะได้อัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดโดยธนาคาร ณ วันที่ที่โอนนั้นๆ

1. โอนทาง internetbankering ธนาคารทุกธนาคารในเนเธอร์แลนด์มีระบบนี้ ปกติแล้วการขอใช้ internetbankering เป็นบริการฟรี ซึ่งคุณต้องระมัดระวังความปลอดภัยของการใ้ช้คอมพิวเตอร์ที่บ้านของคุณเอง การสั่งโอนหรือจ่ายเงินแต่ละรายการ คุณจะต้อมี bevestigingscode หรืออุปกรณ์ generate security code ถ้าคุณไม่ใส่ข้อมุลให้ครบ เงินก็จะโอนไม่ได้ เป็นมาตรการป้องกันมิจฉาชีพของธนาคารนั้นๆ หรือปัจจุบันนี้ด้วยความสะดวกของ smartphone คุณสามารถดาวโหลด app ของธนาคารเพื่อทำธุรกรรมแบบที่ต้องไม่ต้อง browser ได้เลย

2. ไปโอนที่สำนักงานะนาคาร โดยไปเขียนใบกรอกโอนเงิน แบบดั้งเดิม เป็นวิธีที่ลำบากมากในปัจจุบันนี้เพราะสำนักงานธนาคารไม่มีที่ตั้งเป็นที่จับต้องได้เท่าไหร่แล้ว หายไปอยู่ในระบบออนไลน์กันหมด และปกติแล้วถ้าคุณโอนเงินเข้าบัญชีอื่นที่ไม่ใช่ของตัวเองจะมีค่าใช้จ่ายเสมอ เพราะแม้แต่การเอาเงินสดเข้าบัญชีตัวเอง storten ก็ยังมีจำนวนครั้งลิมิตการให้บริการฟรีไว้ พยายามอย่าแตะเงินสดเป็นดีค่ะ ไม่ว่าจะเอาเงินสดเข้าธนาคาร หรือกดเงินสดออกมาใช้ ต่างมีค่าบริการทั้งสิ้น ในเนเธอร์แลนด์คุณสามารถจ่ายเงินค่าสินค้าแม้ว่าจะ 50 เซ็นต์ได้ด้วยการใช้บัตรค่ะ

โอนเงินกลับเมืองไทย

1.หรือโอนธรรมดาผ่านธนาคาร มีค่าใช้จ่ายที่ชัดเจนตามอัตรา ไม่จำกัดวงเงินโอนว่าจะโอนครั้งละเท่าใด ค่าบริการคงที่ (ทั้งนี้วงเงินโอนต่อครั้งอาจต่างกันไปแล้วแต่ธนาคาร) ค่าบริการในการโอนเงินข้ามประเทศนี้ คุณจะเลือกให้หักจากบัญชีในฮอลแลนด์ หักจากจำนวนเงินที่โอนไป หรือ แบ่งหักอย่างละครึ่งก็ได้ การโอนเงินผ่านธนาคารนี้ใช้เวลา 3 - 10 วันแล้วแต่เมืองที่ตั้งของธนาคารของทั้งสองฝั่ง โดยการโอนเงินจำนวนยอดใหญ่มากๆ วิธีนี้จะคุ้มค่ากว่า

2.โอนด้วย Western Union หรือ Money gram ทั้งสองชื่อนี้เป็นบริการโอนเงินที่ไม่ขึ้นกับธนาคาร ผู้รับไม่จำเป็นต้องมีบัญชีเงินฝาก เพียงแต่นำบัตรประจำตัวไปด้วยก็สามารถรับได้ที่จุดให้บริการใกล้บ้านตนเอง การใช้บริการแบบนี้มีข้อดีคือโอนปั๊บ รับเงินได้ปุ๊บ ไม่ต้องผ่านธนาคาร จึงไม่มีเรื่องยุ่งกะแผนกสรรพากร และธนาคาร ค่าบริการจะคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ตามจำนวนเงินที่โอน ปัจจุบันนี้ก็จะต้องใช้บัตรประจำตัวผู้ส่งเงินเช่นกันนะคะ จะว่าหนีภาษีได้ ก็คงไม่กล้าฟันธงแล้ว

3.โอนด้วยแอปโอนเงินต่างๆ app เหล่านี้มีข้อเสียคือมันต้องดึงเงินจากธนาคารของคุณอีกทีหนึ่ง แต่เหมาะกับการโอนเงินจำนวนน้อยๆ เพราะค่าบริการจะเป็น % ต่อยอดเงิน โอนน้อยก็จ่ายน้อย แถมในหลายแอปจะมีโปรโมชั่นให้ด้วยค่ะ
- Azimo
- Wise
- Rewire
- Remitly
- Xoom (บริการจาก Paypal)

ข้อมูล BIC ของธนาคารในประเทศไทย

สำหรับการสั่งโอนเงินผ่านระบบธนาคารค่ะ ถ้ายอดใหญ่ๆ ลี่แนะนำว่าส่งผ่านธนาคารจะได้คุ้มค่าที่สุดค่ะ ถ้าไม่เกินสองล้านบาทในครั้งเดียว เงินจะไม่ถูกกักโดยธนาคารแห่งประเทศไทย สามารถถอนไปใช้ได้สะดวก รวดเร็วค่ะ
BKKBTHBK - ธนาคารกรุงเทพ
BKASTHBK - ธนาคารเอเชีย
AYUDTHBK - ธนาคารกรุงศรี
GSBATHB1 - ธนาคารออมสิน
KASITHBK - ธนาคารกสิกร
KRTHTHBK - ธนาคารกรุงไทย
SICOTHBK - ธนาคารไทยพาณิชย์
TMBKTHBK - ธนาคารทหารไทย


Top
© 2003-2021 Thai-Dutch.net All Rights Reserved
| Home | Europe Tour by Smiley | RianDutch | Facebook-Double Dutch | Copyright | Privacy statement